Facebook link
วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2563
RT ToolBox3 Standard version 1.70Y
Facebook link
วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2562
วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
EveryCircuit เรียนรู้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บเอนิเมชั่น
สื่อการเรียนการสอนทุกวันนี้มีการพัฒนาไปมาก พอๆกับเทคโนโลยีที่พัฒนาเรื่อยๆ ทุกวันนี้เริ่มมีสื่อการเรียนการสอนหลายๆ ตัว พัฒนาบนเว็บแอพพลิเคชั่น ด้วยความสะดวกสบายในการเข้าถึง ความสามารถของบราวเซอร์ และทำให้ผู้เรืยนที่อยู่ห่างไกลสามารถเข้าถึงได้ง่าย
วิชาวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ก็เป็นอีกวิชาหนึ่งที่จำเป็นต้องมีสื่อการเรียนการสอน เพราะเป็นวิชาที่เราเองมองไม่เห็นกระแสไฟฟ้าเวลาเดินทางไปในวงจร ถ้าหากจะต้องการเห็น ก็จะต้องมีเครื่องมือเช่นพวก ออสซิลโลสโคปเพื่อเอาไว้จับสัญญาณมาแสดงบนหน้าจอ ซึ่งราคาของอุปกรณ์ก็ยังไม่ได้ถูกเท่าไหร่นัก ประกอบกับนักเรียนอาจยังไม่มีทุนในการซื้อมาใช้ส่วนตัว ดังนั้น หากสามารถที่จะเรียนรู้เรื่องวงจรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ผ่านสื่อการเรียนการสอนก็สามารถทำได้ โดยเข้าไปที่เว็บนี้
เป็นเว็บสำหรับเรียนรู้วงจรไฟฟ้าผ่านเว็บบราวเซอร์ (ณ ตอนนี้ รองรับเฉพาะ Google Chrome ) เราสามารถเลือกวงจรไฟฟฟ้ามาแสดงให้ดูได้ และสามารถต่อขยายวงจรเพื่อทดลองเองได้ด้วย ดูตัวอย่างจากคลิปวีดีโอ
ลองไปใช้งานกันดูครับ http://www.everycircuit.com/app/
ปล. บอกตรงๆ ว่า อิจฉาเด็กๆยุคดิจิตอลจริงๆ อะไรๆ ก็พร้อมให้เรียนรู้ เยอะแยะมากมาย
วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557
STM32 F0 Microcontrollers for Cost-Sensitive Applications
STMicroelectronics ได้เผยถึง ARM Cortex-M0 ตัวใหม่ เบอร์ STM32F072C8U6 (64-Kbyte variant in UFQFPN48) ราคา $1.32 (ในจำนวนสั่งซื้อ 10,000 units.) ที่มีจุดเด่นเรื่องของ USB 2.0 ที่สามารถออกแบบวงจรโดยไม่ต้องใช้ Crystal ภายนอกเลย และ CAN BUS นอกจากนี้ ยังมีวงจรตรวจสอบการชาร์ตแบตเตอรี่ให้กับอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อประสิทธิภาพและเวลาในการชาร์ตแบตเตอรี่
ซึ่ง เบอร์ STM32F072C8U6 Cortex-M0 ตัวนี้ ได้รับการรองรับจาก CooCox CoIDE ที่ เป็นเครื่องมือพัฒนา ARM ที่ฟรีอีกด้วย
ทาง ST ยังได้ผลิตบอร์ดสำหรับพัฒนา ARM Cortex-M0 ราคาประหยัด สำหรับเจ้า STM32F072C8U6 โดยชื่อบอร์ดว่า STM32F072B-DISCO discovery kit ในราคา $10.40 และบอร์ดรุ่นใหญ่ที่ชื่อ STM32072B-EVAL ในราคา $199
คุณสมบัติทางเทคนิคต่างๆ ได้แก่
- The 12Mbps USB 2.0 full-speed โดยมี สัญญาณนาฬิการ 48 MHz ภายในตัวเองอยู่แล้ว
- USART
- I²C, I²S,
- HDMI CEC และมาตรฐานการเชื่อมต่อ ISO 7816
ฯลฯ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ STMicroelectronics
วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557
Open source hardware GPIB USB Adapter
GPIB คือ ช่องทางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับเครื่องมือวัดดิจิตอลทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องวัดออสซิโลสโคป เครื่องวัด Vibration เครื่องกระแส แรงดันไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก โดยมากแล้วเครื่องมือเหล่านี้จะถูกใช้ในแลป และจะมีช่องติดต่อสื่อสารที่เป็น GPIB
โปรเจค GPIB USB adapter นี้ ถูกสร้างขึ้นโดย นาย scasagrande โดยเมื่อหลายปีก่อน เขาประสบปัญหาในระหว่างทำงานที่แลป โดยเขาไม่สามารถเชื่อมต่อ GPIB กับ Matlab เข้ากับ Linux ได้ เพราะไม่มี Driver รองรับที่ Linux ด้วยความลำบาก เขาจึงตัดสินใจที่จะสร้าง Virtual Serial Port เพื่อแก้ปัญหาเรื่อง Driver USB กับ Linux
โปรเจคนี้ ได้สร้างและปล่อยตัวซอร์สโค๊ด ตลอดจนลายวงจรให้ใช้อย่างเสรี บน Github หาใครสนใจก็ลองดาวน์โหลดมาลองสร้างกันดู
วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556
Top 10 RS-485 design tips
แผนภาพ Infographic อธิบายถึงการออกแบบระบบสื่อสาร RS485 จำง่ายๆ ด้วยหลักการ 10 ข้อ จาก TI ซึ่งจัดทำออกมาเผยแพร่
พร้อมทั้งอธิบายหลักการ และสูตรคำนวณในการนำไปใช้งาน ในรูปแบบที่ดูง่ายๆ
ที่มา : Ti.com
วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
GertDuino: Arduino Add-On Board for Raspberry Pi
GertDuino คือบอร์ดเสริม สำหรับ Raspberry Pi ที่ถูกออกแบบมาให้มีฟังก์ชั่นเพิ่มเติมประสิทธิภาพของ Raspberry pi ด้วยการใช้ Atmega328 ที่ทำหน้าที่ได้เท่ากับ Arduino UNO และ Atmega48 ซึ่งทำหน้าที่จัดการเรื่อง Real Time Clock (RTC) และ IRDA สำหรับการสื่อสารทางด้านแสงอินฟาเรด นำไปรับคำสั่งจากรีโมทคอนโทรลเพิ่มได้ด้วย แต่ อย่างไรก็ดี เราสามารถที่จะพัฒนาโปรแกรมเฉพาะบน GertDuino ได้ โดยไม่ต้องสนใจบอร์ด Raspberry pi ก็ได้ นำมาแยกใช้อิสระ ได้
ในเรื่องของการพัฒนา GertDuino เมื่อได้รับการติดตั้งบนบอร์ด Raspberry Pi แล้ว เราสามารถพัฒนาโค๊ดสำหรับ GertDuino ได้สองทาง
1 การติดตั้ง Arduino GUI บน Graphic mode ของ Raspberry pi แล้วเขียนโค๊ด
2. เขียนบน Text editor เช่น Nano แล้วใช้ GCC Atmel Compiler ทำการแปลงโค๊ดให้เป็น hex file
วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
MPLAB® CODE CONFIGURATOR PLUGIN
ไมโครชิพ ออก plugin เสริมสำหรับ MPLABX ชื่อ MC2 หรือ MPLAB Code Configurator
เป็น plugin สำหรับสร้างโค๊ด driver สำเร็จรูป โดยอาศัยการเลือกผ่านหน้าต่าง GUI แล้วทำการ generate code
ในการกำหนดหน้าที่การทำงานของไอซีไมโครคอนโทรลเลอร์ ตระกูล PIC
โดย MC2 สามารถติดตั้งเสริมผ่าน MPLABX ตั้งแต่เวอร์ชั่น 1.90 และ MPLABX XC8 Compiler ตั้งแต่เวอร์ชั่น 1.2 ขึ้นไป
การติดตั้งสามารถเลือก Tool-->Plugin แล้วเลือก MPLAB® Code Configurator แล้วคลิก Install ได้เลย
สามารถตั้งค่าได้ทั้ง ADC,CCP,Comparator,DAC,ECCP,EUSART,GPIO และ อื่นๆ อีกมากมาย
แต่เป็นที่น่าเสียดาย ตอนนี้ ยังไม่ครอบคลุมทุกเบอร์ของ Microchip เบอร์ที่รองรับได้ ณ ตอนนี้
•PIC12(L)F1501 • PIC16(L)F1787
• PIC12(L)F1822 • PIC16(L)F1788
• PIC12(L)F1840 • PIC16(L)F1789
• PIC16(L)F1503 • PIC16(L)F1823
• PIC16(L)F1507 • PIC16(L)F1824
• PIC16(L)F1508 • PIC16(L)F1825
• PIC16(L)F1509 • PIC16(L)F1826
• PIC16(L)F1512 • PIC16(L)F1827
• PIC16(L)F1513 • PIC16(L)F1828
• PIC16(L)F1516 • PIC16(L)F1829
• PIC16(L)F1517 • PIC16(L)F1847
• PIC16(L)F1518 • PIC16(L)F1933
• PIC16(L)F1519 • PIC16(L)F1934
• PIC16(L)F1526 • PIC16(L)F1936
• PIC16(L)F1527 • PIC16(L)F1937
• PIC16(L)F1782 • PIC16(L)F1938
• PIC16(L)F1783 • PIC16(L)F1939
• PIC16(L)F1784 • PIC16(L)F1946
• PIC16(L)F1786 • PIC16(L)F1947
ที่มา : MPLAB Code Configuration